คุณเคยสังเกตไหมว่า คนที่อารมณ์ดี คิดดี ทำดี จิตใจดี จะเป็นคนที่มีความสุข ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ใบหน้าแววตาสดใส ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างน่าอัศจรรย์ หรือที่เรียกว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวเมื่อมีจิตใจดี สุขภาพร่างกายก็จะดีตามมาเอง ไม่เพียงแค่อารมณ์ที่มีผลต่อสุขภาพ ยังมีผลต่อโครงสร้างร่างกายอีกด้วย หลายคนคงสงสัยว่าอารมณ์สัมพันธ์กับโครงสร้างร่างกายได้อย่างไร คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ ตำแหน่ง Clinical Director จากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ มาไขข้อสงสัยนี้โดยกล่าวว่า อารมณ์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมา เช่น คนที่มีความสุขก็จะมีหน้าตาสดใส พฤติกรรมการยืน เดิน นั่ง อย่างสง่าผ่าเผย ต่างจากคนที่มีอารมณ์หดหู่ ก็จะนั่งไหล่ตก ตัวงอ ส่งผลให้โครงสร้างร่างกายมีการผิดรูปไปจากเดิมแล้วคุณเคยสังเกตอารมณ์ของตนเองเหล่านี้หรือไม่ว่า กำหนดให้คุณมีพฤติกรรมการแสดงออกทางร่างกายอย่างไร เพราะพฤติกรรมที่แสดงออกมาล้วนมีผลต่อโครงสร้างร่างกายทั้งสิ้น อาทิ
 
อารมณ์โกรธ ตกใจ และหวาดกลัว จะมีพฤติกรรมหายใจถี่ หัวใจเต้นแรง และเร็ว ทั้งนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่เรียกว่า “Cortisol” ฮอร์โมนที่มีผลทำให้หลอดเลือดมีการการเกร็งตัว กล้ามเนื้อต่างๆ เกร็งตัวมากกว่าปกติ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่บริเวณท้ายทอย ซึ่งมีผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองน้อยลง คนกลุ่มนี้มักมีอาการปวดเมื่อยหัว หนักหัว
 
อารมณ์เสียใจ ร้องไห้ ซึมเศร้า มีผลต่อกล้ามเนื้อในการหายใจ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงที่ทำหน้าที่ยกซี่โครงขึ้นเวลาเราหายใจเข้า (Internal-external intercostal muscle) ทำให้ปอดขยายได้เต็มที่ แต่คนในกลุ่มอารมณ์นี้ กล้ามเนื้อเหล่านี้จะเกร็งตัวมากทำให้หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก การไหลเวียนของออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกายถูกจำกัด และที่สำคัญกลุ่มคนเหล่านี้จะอยู่ท่าทางคอตก อกพับ ซึ่งไหล่จะงุ้มไปด้านหน้า และหลังค่อมมากกว่าปกติ นานเข้าทำให้การหายใจและการทำงานของปอดลดลง อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้
 
เครียด เป็นอารมณ์ที่คนทั่วไปมักปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้เป็น แต่อันที่จริงแล้วในจิตใต้สำนึกเป็นอยู่ คนกลุ่มนี้จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในระยะยาว ผลทำให้ไม่สามารถทนต่อสิ่งเร้าต่างๆ ที่มากระทบได้ สะสมทำให้เป็นคนหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย และส่งผลต่อโครงสร้างร่างกายโดยตรง คือ กล้ามเนื้อทั้งตัวจะตึงรั้ง หดเกร็งมากกว่าปกติ บาดเจ็บได้ง่าย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กที่บริเวณต้นคอ ส่งเสริมทำให้มีอาการปวดคอ มึนศีรษะ ปวดมากกว่าคนทั่วไป และเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) ได้ง่าย
 
อารมณ์ดี คนกลุ่มนี้จะมีท่วงท่าที่สง่าผ่าเผย หลังตั้งตรง อกผายไหล่ผึ่ง การสูบฉีดของเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ดี ฮอร์โมนในร่างกายเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้มีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ดีด้วย แนวกระดูกก็จะเรียงตัวในความโค้งที่เหมาะสม อวัยวะต่างๆ อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ร่างกายทำงานได้ดี
 
อารมณ์ที่คุ้นชินอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุปนิสัยเปลี่ยน และทำให้การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย และเปลี่ยนแปลงเซลล์ในร่างกาย และในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อระบบโครงสร้างของร่างกาย นั่นคือระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ระบบการไหลเวียนเลือด น้ำเหลือง และระบบประสาท เราจึงควรต้องดูแลรักษาตัวเองจากภายใน เพราะจิตที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง
 
รู้อย่างนี้แล้วเราควรควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ไม่ดีใจหรือเสียใจมากจนเกินไป มีสติทุกย่างก้าว เพื่อสร้างความสมดุลให้กับโครงสร้างร่างกายด้วยตัวเอง

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Ariya Wellness Center ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี)

 

 
Share 31,681

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more
คุณเคยสังเกตไหมว่า คนที่อารมณ์ดี คิดดี ทำดี จิตใจดี จะเป็นคนที่มีความสุข ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ใบหน้าแววตาสดใส ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างน่าอัศจรรย์ หรือที่เรียกว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวเมื่อมีจิตใจดี สุขภาพร่างกายก็จะดีตามมาเอง ไม่เพียงแค่อารมณ์ที่มีผลต่อสุขภาพ ยังมีผลต่อโครงสร้างร่างกายอีกด้วย หลายคนคงสงสัยว่าอารมณ์สัมพันธ์กับโครงสร้างร่างกายได้อย่างไร คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ ตำแหน่ง Clinical Director จากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ มาไขข้อสงสัยนี้โดยกล่าวว่า อารมณ์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมา เช่น คนที่มีความสุขก็จะมีหน้าตาสดใส พฤติกรรมการยืน เดิน นั่ง อย่างสง่าผ่าเผย ต่างจากคนที่มีอารมณ์หดหู่ ก็จะนั่งไหล่ตก ตัวงอ ส่งผลให้โครงสร้างร่างกายมีการผิดรูปไปจากเดิมแล้วคุณเคยสังเกตอารมณ์ของตนเองเหล่านี้หรือไม่ว่า กำหนดให้คุณมีพฤติกรรมการแสดงออกทางร่างกายอย่างไร เพราะพฤติกรรมที่แสดงออกมาล้วนมีผลต่อโครงสร้างร่างกายทั้งสิ้น อาทิ
 
อารมณ์โกรธ ตกใจ และหวาดกลัว จะมีพฤติกรรมหายใจถี่ หัวใจเต้นแรง และเร็ว ทั้งนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่เรียกว่า “Cortisol” ฮอร์โมนที่มีผลทำให้หลอดเลือดมีการการเกร็งตัว กล้ามเนื้อต่างๆ เกร็งตัวมากกว่าปกติ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่บริเวณท้ายทอย ซึ่งมีผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองน้อยลง คนกลุ่มนี้มักมีอาการปวดเมื่อยหัว หนักหัว
 
อารมณ์เสียใจ ร้องไห้ ซึมเศร้า มีผลต่อกล้ามเนื้อในการหายใจ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงที่ทำหน้าที่ยกซี่โครงขึ้นเวลาเราหายใจเข้า (Internal-external intercostal muscle) ทำให้ปอดขยายได้เต็มที่ แต่คนในกลุ่มอารมณ์นี้ กล้ามเนื้อเหล่านี้จะเกร็งตัวมากทำให้หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก การไหลเวียนของออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงร่างกายถูกจำกัด และที่สำคัญกลุ่มคนเหล่านี้จะอยู่ท่าทางคอตก อกพับ ซึ่งไหล่จะงุ้มไปด้านหน้า และหลังค่อมมากกว่าปกติ นานเข้าทำให้การหายใจและการทำงานของปอดลดลง อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้
 
เครียด เป็นอารมณ์ที่คนทั่วไปมักปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้เป็น แต่อันที่จริงแล้วในจิตใต้สำนึกเป็นอยู่ คนกลุ่มนี้จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในระยะยาว ผลทำให้ไม่สามารถทนต่อสิ่งเร้าต่างๆ ที่มากระทบได้ สะสมทำให้เป็นคนหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย และส่งผลต่อโครงสร้างร่างกายโดยตรง คือ กล้ามเนื้อทั้งตัวจะตึงรั้ง หดเกร็งมากกว่าปกติ บาดเจ็บได้ง่าย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กที่บริเวณต้นคอ ส่งเสริมทำให้มีอาการปวดคอ มึนศีรษะ ปวดมากกว่าคนทั่วไป และเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) ได้ง่าย
 
อารมณ์ดี คนกลุ่มนี้จะมีท่วงท่าที่สง่าผ่าเผย หลังตั้งตรง อกผายไหล่ผึ่ง การสูบฉีดของเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ดี ฮอร์โมนในร่างกายเป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้มีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บได้ดีด้วย แนวกระดูกก็จะเรียงตัวในความโค้งที่เหมาะสม อวัยวะต่างๆ อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ร่างกายทำงานได้ดี
 
อารมณ์ที่คุ้นชินอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุปนิสัยเปลี่ยน และทำให้การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย และเปลี่ยนแปลงเซลล์ในร่างกาย และในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อระบบโครงสร้างของร่างกาย นั่นคือระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ระบบการไหลเวียนเลือด น้ำเหลือง และระบบประสาท เราจึงควรต้องดูแลรักษาตัวเองจากภายใน เพราะจิตที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง
 
รู้อย่างนี้แล้วเราควรควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ ไม่ดีใจหรือเสียใจมากจนเกินไป มีสติทุกย่างก้าว เพื่อสร้างความสมดุลให้กับโครงสร้างร่างกายด้วยตัวเอง

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Ariya Wellness Center ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี)

 

 
Share 31,681

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more