ความเชื่อ
|
ความจริง
|
1. คนปวดหลัง เดี๋ยวก็หายเป็นปกติกันทั้งนั้น
|
1.จริงอยู่ที่ว่าส่วนมากเมื่อพักสักสองสัปดาห์อาการปวดมักทุเลาลงได้มาก
ทำให้ไม่ต้องไปพบแพทย์อีกต่อไป แต่ทว่าการวิจัยติดตามอาการผู้ที่เคย ปวดหลังภายในเวลาของคนไข้ มักจะยังมีอาการปวดๆ หายๆ แม้จะไม่ รุนแรงเท่าไรนัก นอกจากนี้การสำรวจประชากรทั่วไปพบว่าประมาณ30% มีปัญหาปวดหลังเรื้อรังที่ค่อนข้างรบกวนคุณภาพชีวิตคือทำให้ไม่สามารถ ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตได้เท่าระดับปกติ การฟื้นฟูที่เหมาะสมจะช่วยลด โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้อีกจึงควรมีการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ให้แข็งแรงป้องกันการกลับมาเป็นอีก |
2. คนปวดหลังควรพักผ่อนหลังมากๆ จะได้หายดี
|
2.การนอกพักช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี แต่หากพักนานเกินไปอาจเกิด
ผลเสียได้เช่นกัน เช่นเอ็นและเนื้อเยื่อพังผืดต่างๆ หดรั้งกล้ามเนื้อเสียความ แข็งแรง และอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการปวดกำเริบซ้ำอีก |
3. คนปวดหลังต้องนอนที่นอนแข็งๆ จะได้ไม่ปวด
|
3.ที่นอนแข็งเกินไปจะทำให้ปวดหลังได้ เพราะที่นอนแข็งจะทำให้น้ำหนัก
ตัวของผู้นอนกดทับเฉพาะจุด และเกิดความเครียดเชิงกลต่อกระดูก สันหลัง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในท่างอตัว ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ล้วนแล้วแต่ สามารถจะ ทำให้อาการปวดหลังกำเริบได้ ส่วนที่นอนนิ่มยุบตัวได้ง่าย เกินไปนั้น นอน แล้วส่วนก้นสะโพกมักจะจมลงลึกเกินไปในที่นอนทำให้ หลังส่วนล่างแอ่น และทำให้เกิดแรงกดต่อ ที่มากผิดปกติไปในทาง ตรงกันข้ามและทำให้ปวด ได้เช่นกัน ดังนั้นจึง ควรนอนที่นอนที่มี ความแข็งพอเหมาะกับน้ำหนักตัวและ รูปร่างของผู้นอนจึงจะดีที่สุด |
4. ห้ามนั่งไขว่ห้างทำให้หลังเสื่อม
|
4. การนั่งไขว้ห้างเป็นการพักกล้ามเนื้ออย่างหนึ่ง ซึ่งมีการศึกษา ทางชีวะ
กลศาสตร์ และสรีระวิทยาที่น่าเชื่อถือยืนยันว่า นอกจากได้ พักกล้ามเนื้อ ที่มีหน้าที่ประคับประคองความมั่นคงของข้อต่อกระดูก สันหลัง แล้ว ยังทำให้เกิดความตึงตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จึงทำให้ ข้อต่อสันหลัง กระเบนเหน็บ และข้อต่อเชิงกราน มีความหนาแน่นมั่นคงขึ้น เพียงแต่ต้อง นั่งไขว้ห้างให้ ถูกต้อง คือ ไม่นั่งหลังค่อมและไม่นั่งนานเกิน 15 นาที ก่อนสลับไขว้ขา ข้างตรงกันข้าม เพราะอาจกลับทำให้ปวดหลังได้ ทั้งนี้ หมายถึงผู้ที่ยังไม่มี อาการปวดหลังแต่สำหรับผู้ที่เคยมีอาการปวดหลัง ส่วนล่างที่รุนแรง หรือ เรื้อรังมาก่อนควรต้องได้รับการรักษาฟื้นฟูเสียก่อน หากแพทย์เห็นว่ามี ความแข็งแรงของโครงสร้างที่ดีพอ ก็จะสามารถ นั่งไขว่ห้างได้อย่าง ปลอดภัยเช่นกัน |
5. ปวดหลังเพราะกระดูกสันหลังเคลื่อน หมอนรองกระดูกเสื่อม
|
5. อาการปวดหลังส่วนล่างนั้น แท้ที่จริงแล้วอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ
ต้องตรวจวินิจฉัยหาที่มาของความปวดให้ชัดเจน อาทิ เช่น หมอนรองกระดูก เอ็นข้างกระดูกสันหลังในด้านต่างๆ กล้ามเนื้อ หลัง และกล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อหว่างเอว เส้นประสาทเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิด ความเจ็บปวดได้ เมื่อเกิดการบาดเจ็บ อักเสบ ฉีกขาด เกร็งหรือมี ภาวะโรคเกิดขึ้น แต่เนื้อเยื่อ เหล่านี้ |
6. คนปวดหลังมีความเชื่อว่า การจัดกระดูก จะทำให้กระดูก”เข้าที่” และหายปวดถาวร
|
6. การวิจัยไม่พบว่า การจัดกระดูกทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อน
ตำแหน่งไป อย่างน้อยก็ไม่ได้เคลื่อนออกไปจากที่เดิมจนเห็นได้ด้วยการ เอ็กซเรย์ และพบว่าไม่ได้ทำให้หายปวดหลังอย่างถาวร ยกเว้นคนไข้ ที่มีปัญหา อาการปวดเกิดจากการเลื่อนตัวไปมาของ ข้อต่อกระดูกสันหลัง ไม่ราบลื่นจริงๆ เท่านั้น ที่จะมีอาการดีขึ้นหายปวดเป็นปลิดทิ้งทันทีเมื่อทำ การรักษา ประมาณว่า ผู้ป่วยด้วยสาเหตุเช่นนี้มีจริงประมาณไม่ถึง 5% ของผู้ที่มีอาการปวดหลังทั้งหมด ข้อสังเกตคือหากทำการรักษานวดจัด กระดูก2-3 ครั้งแล้วไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจนก็อาจแสดงว่าไม่ใช่อาการปวด ที่เหมาะสมจะรักษาด้วยวิธีดังกล่าวควรต้องตรวจหาสาเหตุที่มาของ อาการปวดให้ชัดเจนต่อไป |
7. คนปวดหลังใส่สเตย์จะช่วยพยุงหลัง ช่วยทำให้ หายปวด
|
7 การใส่กายอุปกรณ์ใดๆ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ ผ่านหลาย
กลไก กล่าวคือลดการสั่นสะเทือน และแรงเครียดเค้นต่อกระดูกสันหลัง และ เนื้อเยื่อเกียวพัน ต่างๆ ทำให้กล้ามเนื้อหลังได้พักเหล่านี้ ล้วนแล้ว แต่ทำให้ อาการปวดบรรเทาลงได้ แต่ทว่าการให้เครื่องพยุงหลังเป็นเวลานานๆ จะ ทำให้กล้ามเนื้อหลังนั้นอ่อนแรง และมีโอกาสที่จะปวดหลัง ได้ง่ายกว่าเดิม สำหรับผู้ที่ใส่เครื่องพยุงหลังแล้วอาการปวดบรรเทาลงมาก หากได้สร้างเสริมระบบกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ เกี่ยวพันรอบกระดูกสันหลัง ให้แข็งแรงขึ้น ย่อมมีโอกาสที่จะลดอาการปวดลงได้มากเท่าๆ กันโดย ไม่ต้องอาศัยเครื่องช่วยภายนอกใดๆ |
สำหรับมนุษย์งาน เกือบทั้งหมดของชีวิตมีแต่คำว่า “งาน ประชุม อีเมล์ ลูกค้า” more
เวลาเดินหน้าไปเรื่อยๆ จนบางท่านอาจเผลอ และหลงลืมในสิ่งที่ต้องการจะทำ more
คุณเคยสังเกตไหมว่า คนที่อารมณ์ดี คิดดี ทำดี จิตใจดี จะเป็นคนที่มีความสุข ร่างกายกระปรี้กระเปร่า more
ท่านอาจเคยสงสัยว่านักฟุตบอลอาชีพที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า และต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา more
วัย 40 อัพ มีปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าอ้วนง่าย ผิวมีริ้วรอย อ่อนเพลียไม่สดชื่น more
ปัจจุบันคนนิยมลดน้ำหนักแบบ Low Carb โดยการเลือกปฏิบัติเอง จริงๆ แล้ว Low Carb คืออะไร more
เคล็ดไม่ลับในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วน โดยแพทย์หญิง ชณิศา พานิช จาก AddLife Anti-Aging Center more
เพราะผิวบริเวณรอบดวงตามีความอ่อนบางกว่าผิวในบริเวณอื่น อีกทั้งเส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินที่ช่วยให้ผิวกระชับ ยังถูกทำลายจากอนุมูลอิสระอย่างต่อเนื่อง more
Life Center. 1 South Sathorn Rd., Tungmahamek,
Sathorn, Bangkok 10120 Thailand.
Tel. (66)2-677-7177
Email: contact@lifecenterthailand.com