ท่านอาจเคยสงสัยว่านักฟุตบอลอาชีพที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า และต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา เหตุใดจึงต้องหยุดการเล่นเป็นเวลา 6 - 12 เดือน หลายท่านเข้าใจว่านักกีฬาเหล่านั้นเป็น แค่เพียงพักพื้น รอให้แผลหาย อันที่จริงแล้วนักกีฬาสามารถตัดไหมที่เย็บแผลจากการผ่าตัดได้ภายในเวลา 2 – 3 อาทิตย์หลังผ่าตัดเท่านั้นเอง ในช่วงเวลา 6 - 12 เดือนที่เหลือหลังผ่าตัดนั้น จะต้องเข้ารับการฝึกฝนพื้นฟูสมรรถภาพในการเดิน วิ่ง กระโดด และรับน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บฉีกขาดซ้ำเดิมอีก
 
ขบวนการฟื้นฟูดังกล่าวมีความละเอียดอ่อน คือ จะต้องกำหนดการออกกำลังกายให้มีความยากที่เหมาะสมกับระยะของการฟื้นตัวของเอ็นกล้ามเนื้อที่รอบข้อเข่า การฝึกที่ง่ายหรือเบาเกินไปไม่สามารถเตรียมความพร้อมที่พอเพียงต่อการป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้ การฝึกที่หนักหรือการฝึกในระดับที่ยาก ก่อนที่นักกีฬาจะมีความพร้อมพอเพียง ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บระหว่างการฝึก ระดับความพร้อมของนักกีฬานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา และผลของการฝึก
 
ตัวอย่างเช่น

2 เดือนหลังผ่าตัดเป็นที่คาดหวังว่า หากดำเนินการฟื้นฟูได้สมบูรณ์แบบนักกีฬาจะสามารถพับข้อเข่าได้เท่าปกติเต็มที่เท่ากับข้างปกติ สามารถนั่งยองๆ ได้ และสามารถมีกำลังกล้ามเนื้อฟื้นฟูขึ้นมาในระดับประมาณอย่างน้อยข้างละ 50% ของข้างปกติ
 
ส่วนในช่วง 4 เดือนหลังผ่าตัด หากดำเนินการฟื้นฟูได้เหมาะสมนักกีฬา น่าจะสามารถทำการกระโดด และวิ่ง รวมทั้งการวิ่งสลับฟันปลาอย่างเบาๆ ได้ เริ่มทำการกระโดดขึ้นและลงแท่นที่มีความสูงประมาณ 1 ฟุตได้
 

ส่วนภายใน 6 เดือนหรือ 12 เดือนแล้วแต่กรณี การฝึกโปรแกรมเร่งด่วนหรือธรรมดา นักกีฬาควรสามารถลงเล่นกีฬาได้ โดยมีความเสี่ยงต่ำต่อการบาดเจ็บซ้ำ นักกีฬาควรจะสามารถกระโดดขาเดียวโดยใช้ขาข้างที่ผ่าตัด สามารถทำระยะการกระโดดขาเดียวได้เท่ากันหรือใกล้เคียงข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด มีความต่างกันไม่ควรเกิน 20% เป็นต้น
 
โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าของ DBC นั้น นอกจากจะถอดแบบมาจากมาตรฐานที่ยอมรับในตำราและวงการวิชาการเวชศาสตร์ฟืนฟูแล้ว ยังถูกประมวลออกมาจากประสบการณ์การฟื้นฟูคนไข้ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพในทวีปยุโรป โดยทีมงานของ DBC INTERNATIONAL เมื่อร่วมกันกับความสามารถในการกำหนดมาตรฐานโปรแกรมการฟื้นฟู ตลอดจนเครื่องมือที่ได้รับการออกแบบพิเศษ เพื่อให้เอื้อต่อการฝึกฝนต่อการมีประสิทธิภาพแล้ว มีความเชื่อมั่นได้มากว่า โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังผ่าตัดในตามแบบของ DBC นั้น จะทำให้ข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดกลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพดีสูงสุดใกล้เคียงกับสภาพก่อนผ่าตัด และมีความเสี่ยงในการกลับมาบาดเจ็บซ้ำน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
 
โดยทั่วไปผู้ป่วยควรเข้ารับโปรแกรมการฟื้นฟู ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อม  และหลังผ่าตัดควรเข้ารับการฟื้นฟูสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในเวลาที่ผู้ป่วยไม่ได้มาที่ศูนย์ฟื้นฟู ผู้ป่วยคงจะต้องออกกำลังกายตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดทุกวันอีกด้วย 
 
ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มรูปแบบจะมีประสิทธิภาพในการใช้ข้อเข่าได้สูง ต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับการฟื้นฟู กล่าวคือ ผู้ที่ผ่าเข่าแต่ไม่ได้รับการฟื้นฟูมักจะทำได้แค่เพียงเดินทางราบ เดินขึ้น เดินลงบันไดแล้ว ก็ไม่มีอาการเข่าบวมบ่อยๆ ไม่มีอาการเข่าทรุด เข่าล็อค เช่นกับในสภาพที่ยังไม่ได้ผ่าตัด
 
ส่วนผู้ที่ได้ทำการฟื้นฟูแบบเต็มรูปแบบจะสามารถลุกนั่ง วิ่ง กระโดดได้อย่างแข็งแรงและมั่นใจ จะเห็นว่าการฟื้นฟูสภาพเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ไหน ๆ ก็ผ่าตัดแล้ว ถ้าไม่ฟื้นฟูก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพ ไม่ได้ประโยชน์ ไม่ได้คุณภาพชีวิตเท่าที่พึ่งจะได้

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก DBC Spine Clinic & Gym ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี)

 
Share 23,840

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more
ท่านอาจเคยสงสัยว่านักฟุตบอลอาชีพที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า และต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา เหตุใดจึงต้องหยุดการเล่นเป็นเวลา 6 - 12 เดือน หลายท่านเข้าใจว่านักกีฬาเหล่านั้นเป็น แค่เพียงพักพื้น รอให้แผลหาย อันที่จริงแล้วนักกีฬาสามารถตัดไหมที่เย็บแผลจากการผ่าตัดได้ภายในเวลา 2 – 3 อาทิตย์หลังผ่าตัดเท่านั้นเอง ในช่วงเวลา 6 - 12 เดือนที่เหลือหลังผ่าตัดนั้น จะต้องเข้ารับการฝึกฝนพื้นฟูสมรรถภาพในการเดิน วิ่ง กระโดด และรับน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บฉีกขาดซ้ำเดิมอีก
 
ขบวนการฟื้นฟูดังกล่าวมีความละเอียดอ่อน คือ จะต้องกำหนดการออกกำลังกายให้มีความยากที่เหมาะสมกับระยะของการฟื้นตัวของเอ็นกล้ามเนื้อที่รอบข้อเข่า การฝึกที่ง่ายหรือเบาเกินไปไม่สามารถเตรียมความพร้อมที่พอเพียงต่อการป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้ การฝึกที่หนักหรือการฝึกในระดับที่ยาก ก่อนที่นักกีฬาจะมีความพร้อมพอเพียง ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บระหว่างการฝึก ระดับความพร้อมของนักกีฬานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา และผลของการฝึก
 
ตัวอย่างเช่น

2 เดือนหลังผ่าตัดเป็นที่คาดหวังว่า หากดำเนินการฟื้นฟูได้สมบูรณ์แบบนักกีฬาจะสามารถพับข้อเข่าได้เท่าปกติเต็มที่เท่ากับข้างปกติ สามารถนั่งยองๆ ได้ และสามารถมีกำลังกล้ามเนื้อฟื้นฟูขึ้นมาในระดับประมาณอย่างน้อยข้างละ 50% ของข้างปกติ
 
ส่วนในช่วง 4 เดือนหลังผ่าตัด หากดำเนินการฟื้นฟูได้เหมาะสมนักกีฬา น่าจะสามารถทำการกระโดด และวิ่ง รวมทั้งการวิ่งสลับฟันปลาอย่างเบาๆ ได้ เริ่มทำการกระโดดขึ้นและลงแท่นที่มีความสูงประมาณ 1 ฟุตได้
 

ส่วนภายใน 6 เดือนหรือ 12 เดือนแล้วแต่กรณี การฝึกโปรแกรมเร่งด่วนหรือธรรมดา นักกีฬาควรสามารถลงเล่นกีฬาได้ โดยมีความเสี่ยงต่ำต่อการบาดเจ็บซ้ำ นักกีฬาควรจะสามารถกระโดดขาเดียวโดยใช้ขาข้างที่ผ่าตัด สามารถทำระยะการกระโดดขาเดียวได้เท่ากันหรือใกล้เคียงข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด มีความต่างกันไม่ควรเกิน 20% เป็นต้น
 
โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าของ DBC นั้น นอกจากจะถอดแบบมาจากมาตรฐานที่ยอมรับในตำราและวงการวิชาการเวชศาสตร์ฟืนฟูแล้ว ยังถูกประมวลออกมาจากประสบการณ์การฟื้นฟูคนไข้ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพในทวีปยุโรป โดยทีมงานของ DBC INTERNATIONAL เมื่อร่วมกันกับความสามารถในการกำหนดมาตรฐานโปรแกรมการฟื้นฟู ตลอดจนเครื่องมือที่ได้รับการออกแบบพิเศษ เพื่อให้เอื้อต่อการฝึกฝนต่อการมีประสิทธิภาพแล้ว มีความเชื่อมั่นได้มากว่า โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังผ่าตัดในตามแบบของ DBC นั้น จะทำให้ข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดกลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพดีสูงสุดใกล้เคียงกับสภาพก่อนผ่าตัด และมีความเสี่ยงในการกลับมาบาดเจ็บซ้ำน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
 
โดยทั่วไปผู้ป่วยควรเข้ารับโปรแกรมการฟื้นฟู ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อม  และหลังผ่าตัดควรเข้ารับการฟื้นฟูสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในเวลาที่ผู้ป่วยไม่ได้มาที่ศูนย์ฟื้นฟู ผู้ป่วยคงจะต้องออกกำลังกายตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดทุกวันอีกด้วย 
 
ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มรูปแบบจะมีประสิทธิภาพในการใช้ข้อเข่าได้สูง ต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับการฟื้นฟู กล่าวคือ ผู้ที่ผ่าเข่าแต่ไม่ได้รับการฟื้นฟูมักจะทำได้แค่เพียงเดินทางราบ เดินขึ้น เดินลงบันไดแล้ว ก็ไม่มีอาการเข่าบวมบ่อยๆ ไม่มีอาการเข่าทรุด เข่าล็อค เช่นกับในสภาพที่ยังไม่ได้ผ่าตัด
 
ส่วนผู้ที่ได้ทำการฟื้นฟูแบบเต็มรูปแบบจะสามารถลุกนั่ง วิ่ง กระโดดได้อย่างแข็งแรงและมั่นใจ จะเห็นว่าการฟื้นฟูสภาพเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ไหน ๆ ก็ผ่าตัดแล้ว ถ้าไม่ฟื้นฟูก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพ ไม่ได้ประโยชน์ ไม่ได้คุณภาพชีวิตเท่าที่พึ่งจะได้

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก DBC Spine Clinic & Gym ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี)

 
Share 23,840

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more